วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ปลาพญานาค

  เป็น "ปลาพญานาค" ตัวที่ 2 ที่ถูกซัดขึ้นเกยหาดหงิเซิน (Nghi Son) จ.แค้งฮวา (Khanh Hoa) ในภาคเหนือตอนล่างเวียดนาม ประเทศนี้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 3,000 กิโลเมตร มักจะมีสัตว์น้ำที่ประหลาดๆ หรือหายาก โผล่มาให้เห็นเป็นระยะ. -- ภาพ: เกียนถึกออนไลน์.


      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ประชาคมออนไลน์เวียดนามตื่นเต้นกับภาพ และข่าวการพบปลาหายากชนิดหนึ่งถูกซัดเข้าฝั่งเกยหาดทรายใน อ.หงิเซิน (Nghi Son) จ.แค้งฮวา (Khanh Hoa) ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว แต่ภาพทั้งหมดเพิ่งจะแพร่ออกสู่โลกออนไลน์ไม่กี่วันมานี้ 
       
       นี่คือ “ปลาพญานาค” หรือ “ปลาไม้พาย” (Oarfish) ที่เคยร่ำลือกันว่า ทหารสหรัฐฯ ในลาวเคยจับได้ในแม่น้ำโขงเมื่อกว่า 30 ปีก่อน โดยมีรูปภาพแพร่กระจายไปทั่วซึ่งแท้จริงในภาพดังกล่าวเป็น “ปลาพญานาค” ขนาดใหญ่ที่ถูกซัดเกยตื้นเข้าฝั่งแคลิฟอร์เนีย
       
       แต่ที่แน่ๆ คือ ออร์ฟิช เป็นปลาที่ถูกบันทึกเอาไว้ว่ามีลำตัวยาวที่สุดในโลก และยังเป็น “อสุรกายแห่งท้องทะเล” ของนักเดินเรือสมัยโบราณ
       
       “ออร์ฟิช” อาศัยอยู่ในทะเลลึกตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป แต่จะโผล่ขึ้นมาให้เห็นบนผืนน้ำในยามที่มันเจ็บป่วย หรือขึ้นมาเพื่อรับแสงแดด และบางครั้งเป็นการแจ้งเตือนการเกิดแผ่นดินไหวใต้ผืนสมุทร นักเดินเรือกล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม ตัวที่ถูกซัดขึ้นเกยหาดในภาคเหนือตอนล่างของเวียดนามลำตัวยาวเพียง 4 เมตรเท่านั้น แม้ว่าตัวโตเต็มที่จะยาว 11-17 เมตรก็ตาม และนับเป็นปลาตัวที่ 2 ที่ถูกซัดขึ้นมาเกยตื้นในจังหวัดเดียวกันนี้ โดยตัวแรกพบในเดือนเดียวกันนี้เมื่อ 2 ปีก่อน สำนักข่าวเกียนถึกออนไลน์รายงาน
       
       นักชีววิทยาทางทะเลกล่าวว่า ด้วยลำตัวยาว และเป็นสีเงินยวง ส่วนหัวกับส่วนหางมีสีแดง ครีบบนส่วนหัวจะมีสีชมพูเรื่อ และเป็นเส้นยาวเรียว จึงไม่แปลกอะไรที่นักเดินเรือจะเรียกมันว่าอสุรกายแห่งสมุทร ภาพวาดสมัยโบราณได้แสดงให้เห็นออร์ฟิชเป็นเสมือนตัวมังกรในตำนาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามันอาจจะเป็นปลาตระกูลโบราณที่ผ่านวิวัฒนาการมาหลายยุค และมีขนาดใหญ่โตมาก
       
       ออร์ฟิช ปรากฏให้เห็นในทะเลหลายแห่งทั่วโลกที่ภูมิอากาศแตกต่างกัน รวมทั้งพบในไต้หวัน เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในสภาพที่ถูกคลื่นซัดขึ้นเกยหาดเช่นเดียวกัน
       
       สำหรับเวียดนาม หลายปีมานี้ได้มีสัตว์ทะเลประหลาดๆ ไปปรากฏที่นั่นหลายชนิด รวมทั้งปลาแสงอาทิตย์ (Sunfish) ที่อาศัยในมหาสมุทร แต่ที่แปลกประหลาดยิ่งกว่าก็คือ ในปี 2554 ที่มีสิงโตทะเลพันธุ์ขั้วโลกใต้ไปติดอวนของชาวประมงในภาคกลางของประเทศ ซึงยังไม่มีผู้ใดอธิบายได้ว่าเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
       
       ย้อนหลังไปเมื่อปี 2553 ชาวประมงในแถบ จ.บี่งดิง (Binh Dinh) ล่าปลาฉลามน้ำหนักกว่า 1 ตันได้ตัวหนึ่ง ในเขตอ่าวกวีเญิน (Qui Nhon) เมืองหาดทรายท่องเที่ยวชายทะเลที่โดยปกติจะคลาคล่ำด้วยผู้คนลงว่ายน้ำกัน หลังจากนั้นยังจับได้อีกหลายตัวน้ำหนักตั้งแต่ 200 กิโลกรัมเศษ จนถึงกว่าครึ่งตัน
       
       ยังไม่มีผู้ใดสามารถอธิบายได้เช่นกันว่า เพราะเหตุใดๆ ฉลามจึงแวะเวียนเข้าไปที่นั่น แต่ที่แน่ๆ คือ ทุกวันนี้อ่าวท่องเที่ยวได้กลายเป็นอ่าวร้าง เหลือเพียงเรือหาปลา กับชาวประมงเท่านั้น.
       .ญานาค 




      เต่าอัลลิเกเตอร์ หรือ เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง (อังกฤษ: Alligator snapping turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrochelys temminckii) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Chelydridae) จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochelys ซึ่งหลายชนิดในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง[3] และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ คอนราด จาค็อบ แทมมินค์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์

เต่าอัลลิเกเตอร์ มีส่วนหัวใหญ่ตัน ขากรรไกรรูปร่างเหมือนจะงอยปากและกระดองยาวหนามีสัน 3 สันแลดูคล้ายหลังของอัลลิเกเตอร์ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ กระดองของมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาล, ดำ, หรือสีเขียวมะกอก ในบางครั้งอาจมีตะไคร่น้ำเกาะเพื่อใช้พรางตัว มีลายสีเหลืองบนตาที่ช่วยในการพรางตัวและมีหน้าที่แบ่งส่วนลูกตา รอบ ๆ ดวงตาของถูกล้อมรอบด้วยเนื้อรูปดาวซึ่งดูแล้วเหมือนขนตา ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นนั้นมีความยาวกระดอง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนัก 23 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างเพศสามารถดูได้จากความหนาของโคนหาง โดยเต่าตัวผู้จะมีโคนหางที่หนากว่าเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอวัยวะสืบพันธุ์ไว้

โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีบันทึกอย่างไม่เป็นทางการระบุว่ามีน้ำหนักถึง 403 ปอนด์ (ประมาณ 183 กิโลกรัม) พบในแม่น้ำนีโอโช ในรัฐแคนซัส เมื่อปี ค.ศ. 1937 ขณะที่ตัวที่มีบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีน้ำหนักถึง 236 ปอนด์ อยู่ที่สวนสัตว์บรู๊คฟิลด์ ในชิคาโก

เต่าอัลลิเกเตอร์ จัดเป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแรงกัดของกรามที่รุนแรง โดยเต่าขนาด 1 ฟุต มีแรงกัดถึง 1,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นแรงกัดมหาศาลเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก จระเข้น้ำเค็ม และ ไฮยีน่า[4] แม้แต่สุนัขขนาดใหญ่ที่ดุร้าย เช่น พิทบูล ยังมีแรงกัดได้เพียง 400-500 ปอนด์เท่านั้น และเมื่อกัดแล้วกรามจะล็อกเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุด จนผู้เชี่ยวชาญในการจับเต่าอัลลิเกเตอร์กล่าวว่า หากถูกเต่าอัลลิเกเตอร์กัดแล้ว วิธีเดียวที่จะเอาออกมาได้ คือ ต้องตัดหัวออกแล้วใช้ไม้เสียบเข้าไปในรูจมูกให้ทะลุถึงคอ เพื่อปลดล็อกกราม[5]

เต่าอัลลิเกเตอร์ เป็นเต่าที่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยวิธีการซุ่มนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวใต้น้ำ แล้วอ้าปากใช้ลิ้นที่ส่วนปลายแตกเป็น 2 แฉกที่ส่วนปลายสุดของกรามล่าง เพื่อตัวหลอกปลาให้เข้าใจว่าเป็นหนอน เมื่อปลาเข้าใกล้ได้จังหวะงับ ก็จะงับด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วเต่าอัลลิเกเตอร์ยังกินเต่าด้วยกัน รวมถึงเต่าอัลลิเกเตอร์ด้วยกันเองเป็นอาหารด้วยจากการขบกัดที่รุนแรง [5]

เชื่อกันว่า เต่าอัลลิเกเตอร์มีอายุยืนได้ถึง 200 ปี แต่อายุโดยเฉลี่ยในที่เลี้ยง คือ 20-70 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 11-13 ปี โดยจะโตไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ แต่เมื่อเลยไปแล้วอัตราการเจริญเติบโตก็จะช้าลง ตัวเมียวางไข่ขนาดเท่าลูกปิงปองได้มากถึง 52 ฟอง แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 29-31 ฟอง โดยขุดหลุมฝังไว้ในพื้นดิน ซึ่งไข่จำนวนหนึ่งอาจถูกสัตว์กินเนื้อต่าง ๆ เช่น แรคคูน ขุดขโมยไปกินได้ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้เต่าในธรรมชาติต้องวางไข่ใกล้กับทางรถไฟมากขึ้น[5]

เต่าอัลลิเกเตอร์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว์ ขณะที่กฎหมายในบางที่เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ห้ามเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง[6] [7] แต่ในบางพื้นที่ เช่น รัฐลุยเซียนา มีการนำไปปรุงเป็นซุป ถือเป็นอาหารท้องถิ่นอย่างหนึ่ง โดยมีการจับส่งให้แก่ร้านอาหารตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 จนถึง ทศวรรษที่ 70-80 ทำให้ประชากรเต่าอัลลิเกเตอร์มีจำนวนที่ลดล
เต่าอัลลิเกเตอร์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Reptilia
อันดับ:Testudines
วงศ์:Chelydridae
สกุล:Macrochelys
Gray, 1856
ชนิด:M. temminckii
ชื่อทวินาม
Macrochelys temminckii
(Troost, 1835)
ชื่อพ้อง[2]
  • Macroclemys temminckii (Troost, 1835)
  • Chelonura temminckii Troost, 183เต่าอัลลิเกเตอร์ หรือ เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง




















โลมา น่ารู้

สารคดี เรื่อง ปลาโลมา




โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและมีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง มีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์

รูปร่างของโลมา


โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2 ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ

ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าโลมาขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก